คาปาซิเตอร์แคปพัดลมMono(โมโน) 3 uF แบบแจ็คเสียบ

คุณสมบัติสินค้า:

คาปาซิเตอร์ 3uF 440/450VAC ซึ่งมีหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า และจ่ายประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ไปช่วยในการการทำงานของมอเตอร์พัดลมในขณะที่สตาร์ทหรือรัน

หมวดหมู่ : Capacitor แคปพัดลม

Share

แคปพัดลมแบบสายเสียบ 3 ไมโคร MONO

แคปพัดลม หรือ คาปาซิเตอร์ คือ ตัวเก็บประจุ ซึ่งมีหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า และจ่ายประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ไปช่วยในการทำงานของมอเตอร์พัดลมในขณะที่สตาร์ทหรือรัน คาปาซิเตอร์พัดลม สามารถใช้ได้กับพัดลมแอร์ หรือเทียบใช้แทนกันได้เพียงแค่ตรวจสอบค่าไมโครให้เหมาะสมและใช้งานได้เลย

คาปาซิเตอร์MONO นี้ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับมอเตอร์แบบSingle Phase หรือ ไฟ 220 VAC และยังสามารถทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 440V ทนอุณหภูมิความร้อนได้มากถึง 85 องศาเซลเซียล ด้านในอุปกรณ์มีน้ำมันแบบ Special Wag คุณภาพสูง เปรียบดังน้ำมันสังเคราะห์แท้ 100% ที่มีเคมีปรุงแต่ง เพื่อใช้กับมอเตอร์พัดลมแอร์หรือใช้งานกับมอเตอร์พัดลมทั่วไปได้ และมีการรับประกันนานถึง 2 ปีเต็ม ช่างจึงมั่นใจเลือกใช้ คาปาซิเตอร์MONO

รายละเอียดสินค้า

  • Fan Motor Capacitor หรือ คาปาซิเตอร์
  • Part No.CBB61Capacitor
  • แบบ : สายเสียบ
  • แรงดันไฟ : 440/450VAC
  • ความถี่ : 50/60Hz
  • ขนาดความจุ : 3uF
  • ลักษณะ : พลาสติกสีดำ รูปทรงสี่เหลี่ยม มีสาย
  • รับรองมาตรฐาน : CQC TUV DIN RoHS

ข้อสังเกตการเปลี่ยน ตัวแคปมีการบวมผิดรูป หัวหลักแคปเอนเอียง หรือขั้วมีการช็อตและน้ำมันด้านในไหลออกมา แต่ถ้ารูปร่างปกติควรตรวจสอบโดยการใช้คลิปแอมป์หรือมัลติมิลเตอร์ปรับค่าไฟที่หน่วยวัด uF แล้ววัดว่าค่ายังอยู่ตามสเปคหรือไม่ ถ้าค่าลดลงจากเดิมเกิน 5 % หรือตรวจเช็คไม่ขึ้น ถ้าเป็นไปตามข้างต้นนี้ สามารถเปลี่ยนทดแทนของเดิมได้เลย

แคปเสียบ่อยเกิดจากอะไร
1.เกิดจากแรงดันไฟฟ้าต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป มีไม่กี่กรณี คือ

  • บ้านที่ไฟตกบ่อยอยู่ปลายหมู่บ้าน
  • สายเมนที่ดึงมาใช้งานเส้นเล็กเกินไป ไม่เพียงพอต่อโหลด
  • อยู่ไกลจากหม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ
  • สายไฟหลุดหลวมทำให้เกิดการจ่ายไฟที่ไม่สเถียร

2.เกิดจากตำแหน่งพื้นที่ ที่ไว้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่กลางแสงแดดที่มีการสะสมความร้อนอย่างต่อเนื่อง

  • วิธีการแก้ไขโดยทำร่มเงาหรือย้ายไปยังที่ระบายความร้อนได้ดี

3.เกิดจากอายุการใช้งานของคาปาซิเตอร์

  • คาปาซิเตอร์ออกแบบมาให้มีอายุการใช้งาน โดยปกติคาปาซิเตอร์จะ Class C ใช้งานได้ประมาณ 3,000 ชั่วโมง ทนอุณหภูมิความร้อนได้ประมาณ 50 องศาเซลเซียลแต่คาปาซิเตอร์MONO จะ Class B ใช้งานได้ประมาณ 10,000 ชั่วโมง และทนอุณหภูมิได้ถึง 85 องศาเซลเซียล ด้วยข้อแตกต่างจากรูปลักษณ์ภายนอกอาจจะมองไม่รู้ แต่ภายในมีวัสดุอุปกรณ์ที่เหนือกว่า การปรุงแต่งของน้ำมันที่เหมาะสมกับการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์โดยเฉพาะ

4.เกิดจากอายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์หรือมอเตอร์ลูกนั้นทำงานหนักเกินโหลด วิธีการแก้ไขคือ

  • หมั่นตรวจล้างเครื่องปรับอากาศ แผงระบายความร้อนอย่างเหมาะสม โดยปกติแล้วการล้างแอร์ต้องล้างปีล่ะ 2 ครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ แวดล้อม การใช้งาน
  • ช่างที่เติมน้ำยาควรใช้คลิปแอมป์ เพื่อตรวจเช็คดูว่าเกินกระแสมอเตอร์คอมเพรสเซอร์กำหนดหรือไม่

 

รับรองมาตรฐานจาก


CQC เป็นองค์กรรับรองมาตรฐานภายใต้การควบคุมของ China Certification & Inspection Group ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก State General Administration เพื่อดำเนินการควบคุมตรวจสอบคุณภาพและออกใบรับรองในจีน ในฐานะที่เป็นองค์กรรับรองมาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในจีน CQC รับผิดชอบในการรับรองผลิตภัณฑ์และระบบบริหารจัดการ เช่นเดียวกับบริการอบรมขั้นตอนการรับรองคุณภาพ ซึ่งรวมถึงในส่วนของการอนุรักษ์พลังงานและน้ำ ไปจนถึงการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

TÜV Rheinland เป็นหน่วยรับรองชั้นนำ ที่ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO, IEC และมาตรฐานสากลอื่นๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่แม่นยำ มีผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมขั้นสูง และขั้นตอนที่ละเอียดถี่ถ้วน โดยเป็นอันดับสามในการจัดอันดับโดยรวม และเป็นอันดับหนึ่งในด้านการรับรองวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า

DIN (Deutsches Institut für Normung) คือมาตรฐานจาก สถาบันเพื่อการรับร+63.6+

องค์มาตรฐานอุตสาหกรรม
เป็นองค์กรเอกชนที่จดทะเบียนเป็นสมาคมที่ไม่แสวงหากำไรจากประเทศเยอรมัน เพื่อกำหนดมาตรฐานของเหล็กทั้งหมดในเยอรมัน จะนำหน้าด้วย DIN และตามด้วยชื่อ หรือหมายเลข เช่น DIN 40NiCrMo66
เครื่องมือทั้งหมดของ FORCE เป็นเครื่องมือระดับมืออาชีพที่ผลิตได้มาตรฐาน DIN อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9002 และ ISO 9001 อีกด้วย

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม เวลาเลือกดูสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือใน Datasheet ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คงจะเคยเห็นสัญลักษณ์วงกลม ที่มีตัวอักษร “Pb” แล้วคาดด้วยเส้นเฉียง หรือมีเขียนคำว่า “RoHS Compliant” หรือจะเขียนว่า “Pb-Free”, “Green” หรืออะไรก็แล้วแต่ นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านั้น ผ่านตามข้อกำหนดที่เรียกว่า “RoHS” (สัญลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน เนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นทางการ)

RoHS คืออะไร

RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้