Last updated: 12 ต.ค. 2564 | 18533 จำนวนผู้เข้าชม |
มาทำความรู้จักภายในส่วนคอยล์กันว่ามีส่วนไหนบ้าง ซึ่งการทำงานของคอยล์เย็นจะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องเพื่อให้อุณหภูมิลดลง คอยล์เย็น เป็นชุดของแอร์ที่ถูกติดตั้งภายในห้องหรืออาคารประกอบด้วยแผงคอยล์เย็นที่ติดกับส่วนท่อน้ำยาแอร์ที่บรรจุน้ำยาแอร์ไหลเวียนภานในส่งต่อไปยังคอมเพรสเซอร์โดยขณะไหลเวียนผ่านท่อจะมีพัดลมคอยดูดอากาศภายในห้องจากด้านล่างเครื่องผ่านท่อ และแผงคอยล์เย็นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน และผ่านอากาศเย็นออกมายังช่องแอร์ในด้านปลาย มีส่วนประกอบ ดังนี้
แผ่นกรองอากาศ / แผงกรองฝุ่น/ ฟิลเตอร์ (Filter)
ฟิลเตอร์แอร์ หรือแผ่นกรองอากาศ เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศ มีลักษณะเป็นแผ่นตะแกรงพลาสติก ติดอยู่บริเวณใต้ฝาหน้าของแอร์ พอเปิดฝาหน้าออกก็จะเจอกับแผ่นฟิลเตอร์แอร์ทันที เมื่อแอร์สูบอากาศภายนอกเข้าไปในเครื่อง ฟิลเตอร์จะทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองในอากาศไม่ให้เข้าไปถึงคอยล์เย็นได้ ทำให้แอร์ทำงานได้เป็นปกติ และอากาศที่แอร์เป่าออกมาก็จะสะอาดปราศจากฝุ่น
ฟิตเตอร์หน้าแอร์จะมี 2 แบบ ได้แก่
แผงขดท่อคอยล์เย็น (Cooling Coil)
แผงขดท่อคอยล์เย็นคือ ตัวสร้างความเย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบาง ๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม
หรือหน้ากากรับลมกลับ ของเครื่องออก ที่แผงขดท่อนี้จะมีฝุ่นผงขนาดเล็กที่สามารถผ่านการกรองของฟิลเตอร์
เข้ามาได้ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น และอากาศจะไม่สามารถผ่านได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศมีผลเช่นเดียวกันกับฟิลเตอร์ตัน จึงควรมีการล้างทำความสะอาดขดท่อและแผ่นอลูมิเนียมโดยในระยะเวลาในการล้างในรอบหนึ่งปี ควรมีการล้าง 1 ครั้ง
ใบพัดลมคอยล์เย็น (Blower)
ใบพัดลมคอยล์เย็นหรือโบลเวอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า ฝุ่นผงขนาดเล็กที่เล็ดลอดมาจากการดักจับของแผงกรองอากาศบางส่วน จะมาจับอยู่ที่ใบพัดลมทำให้ร่องตักลมของใบพัดลมอุดตันไม่สามารถตักลมได้ เต็มที่
การเกิดในลักษณะเช่นนี้จะทำให้ปริมาณลมเย็น ที่ออกไปจากคอยล์เย็นลดลง จึงต้องเสียเวลาในการเดินเครื่องปรับอากาศนานขึ้น เพื่อที่จะให้ได้อุณหภูมิของห้องเท่าเดิม ซึ่งมีผลทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น นอกจากฝุ่นที่เกาะตามใบพัดลมจะทำให้พัดลมส่งลมเย็นออกมาได้น้อยแล้ว อาจจะทำให้เกิด
เสียงดังที่ตัวชุดคอยล์เย็นขึ้นได้ เนื่องจากฝุ่นที่จับอยู่จะไปเพิ่มน้ำหนักให้กับใบพัด ทำให้ใบพัดเสียการสมดุลในตัวเอง และเมื่อมอเตอร์หมุนจะเกิดการสั่นสะเทือนจากแรงเหวี่ยงและเกิดเสียงดังขึ้นได้
การล้างทำความสะอาดใบพัด ควรล้างไปพร้อมกับการทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น
ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง (Condensate Tray & Drain Line)
ถาดรองรับน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้งเป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของไอน้ำในอากาศภายในห้อง น้ำที่เกิดขี้นนี้จะไหลไปรวมกันที่ถาดรองรับน้ำและถูกระบายน้ำทิ้งโดยผ่านทางท่อน้ำทิ้ง
ที่ถาดรองรับน้ำทิ้งนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเมือกขาวใสคล้ายวุ้น
น้ำที่ขังอยู่ในถาดรองรับน้ำทิ้งเป็นเวลานานนี้เมื่อรวมกับฝุ่นละอองต่างๆ ที่เกาะอยู่ตามถาดรับก็อาจจะเป็นแหล่งอาหารหรือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เชื่อรา และทำให้เชื้อโรค เชื้อราเหล่านี้ เจริญเติบโตและแพร่กระจายสู่ผู้ปฏิบัติงาน
หน้ากากรับลมและหน้ากากกระจายลม (Louver)
ตัวโครงเครื่อง หน้ากากรับลม และหน้ากากจ่ายลม การทำความสะอาดโดยการปัดฝุ่นหรือใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถู หรือถ้าสามารถถอดออกได้จะนำไปล้างน้ำก็ได้
เพื่อการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา และการตรวจซ่อมคอยล์เย็นให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพและรูปแบบของคอยล์เย็นแอร์แต่ล่ะเครื่อง ควรศึกษาทำความเข้าใจเอกสารคู่มือที่ให้มาพร้อมกับคอยล์เย็นแอร์และปฎิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้องด้วยนะคะ
5 ก.ย. 2567
18 มิ.ย. 2567
31 ส.ค. 2567
19 ก.พ. 2567