น้ำแอร์หยดเกิดจากสาเหตุอะไร วิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแบบง่ายๆ
ปัญหาน้ำแอร์หยดด้านในนี่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยตามบ้านทั่วไป ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มักจะพาความรำคาญจากความเปียกชื้น และยังอาจทำให้เกิดอันตรายจากไฟรั่วได้อีก สาเหตุที่ทำให้น้ำแอร์หยดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน วันนี้เราจะมาแนะนำถึงสาเหตุและวิธีแก้ไข ในกรณีที่เกิดน้ำแอร์หยด
สาเหตุ
- เกิดจากถาดหรือท่อทิ้งน้ำนั้นตัน ทำให้น้ำที่เกิดจากกระบวนการฟอกอากาศ ไม่สามารถระบายออกไปได้ จึงล้นและไหล ย้อนกลับมา กลายเป็นน้ำที่หยดซึมมาจากตัวแอร์ในที่สุด
- ถาดคอยล์ด้านหลังของแผงคีบแอร์นั้นเกิดตัน และทำให้เกิดมีหยดน้ำเกาะอยู่นอกตัวแอร์
- ถาดน้ำทิ้งเกิดการชำรุด เช่นหลุด หรือแตก
- การเดินท่อภายในของช่างนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้หุ้มท่อไม่ได้มาตรฐาน และเกิดหยดน้ำเกาะรอบๆ ตัวจนหยดออกมานอกตัวแอร์ได้ในที่สุด
วิธีแก้ไข
- ควรทำความสะอาดโยการใช้โบลเวอร์ (Blower) หรือเครื่องเป่าไฟฟ้า ไล่น้ำออกให้แห้ง โดยบริเวณที่เน้นมากๆ คือท่อน้ำทิ้งและบริเวณปลายท่อ
- แก้ไขโดยการล้างแอร์ ซึ่งหากผู้ใช้งานมีความชำนาญก็สามารถถอดส่วนประกอบ หรือท่อแอร์ออกมาล้างได้เลย หรือหากไม่มีความชำนาญ สามารถเรียกช่างแอร์มาล้างก็ได้ครับ
- หากแอร์นั้นมีความสกปรกมาก เช่นฝุ่นหรือมีคราบสกปรกไปเกาะอยู่จำนวนมาก เครื่องจะระบายความเย็นออกมาไม่ทัน ทำให้เกิดน้ำแข็งจับและกลายเป็นหยดน้ำออกมานอกเครื่องได้ในที่สุด กรณีนี้ควรติดต่อเรียกช่างแอร์จะดีกว่าครับ เพราะต้องทำการรื้อเครื่องดูจุดที่สกปรกซึ่งอยู่ภายในเครื่องแอร์นั่นเอง
- อีกสาเหตุที่พบได้บ่อยคือน้ำยาแอร์มีน้อยจนเกินไป หรืออาจเกิดจากการรั่วซึมของน้ำยา ควรติดต่อช่างแอร์โดยด่วน เพราะน้ำยาแอร์นี้เป็นส่วนที่สำคัญต่อการเกิดความเย็น ถ้าหากมีน้อยเกินไปจะทำให้ตัวแอร์นั้นปรับอากาศได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจทำให้เครื่องรวนหรือพังไปเลยก็ได้
- ตรวจดูว่าภายในเครื่องมีสัตว์จำพวกหนู หรือแมลงเข้าไปอาศัยหรือตายติดอยู่หรือไม่ เพราะบางครั้งสัตว์จำพวกนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อแอร์ภายในเครื่องได้
- ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง หากพบว่าเลื่อน หรือเคลื่อน ควรทำการแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิม
- การแก้ปัญหาน้ำแอร์หยดนั้น ทางที่ดีควรติดต่อเรียกช่างแอร์ หรือคนที่มีความชำนาญจะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องของทางเทคนิค และเครื่องแอร์นั้นก็มีความซับซ้อนมาก หากไม่ชำนาญหรือไม่เคยรื้อเครื่องมาก่อน อาจทำให้เกิดความเสียหายได้